ข่าวประชาสัมพันธ์ » สทน. เปิดฉากงาสทน. เปิดฉากงานประชุมนานาชาติ ‘นิวเคลียร์’ ครั้งที่ 3 ชูงานวิจัยไทย แลกเปลี่ยนความรู้นานาชาติ ปักหมุดความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม

สทน. เปิดฉากงาสทน. เปิดฉากงานประชุมนานาชาติ ‘นิวเคลียร์’ ครั้งที่ 3 ชูงานวิจัยไทย แลกเปลี่ยนความรู้นานาชาติ ปักหมุดความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม

5 กุมภาพันธ์ 2019
979   0

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. ดำเนินการประชุมนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ภายใต้แนวคิด “Nuclear for Better Life นิวเคลียร์เพื่ออนาคตที่ดีกว่า” โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดการประชุม และทอดพระเนตรการจัดแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยการใชhประโยชน์จากเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านโบราณคดี สิ่งแวดล้อม ทั้งการตรวจวิเคราะห์ก๊าซเรดอน และการใช้ไอโซโทปในการบริหารจัดการน้ำ นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดแสดงผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งการนำเสนอบนเวทีและการจัดแสดงภาคโปสเตอร์ การมอบรางวัลแก่นักนิวเคลียร์ดีเด่นผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์จำนวน 2 ราย การมอบรางวัลผู้ชนะเลิศ

โครงการประกวดการแข่งขันหุ่นยนต์ปฏิบัติการทางเทคโนโลยีนิวเคลียร์ และปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในศตวรรษที่ 21 ด้วยเทคโนโลยีนิวเคลียร์” ของศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์เฮนดริค เฮจนิส (Prof.Dr.Hendrik Heijnis) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม องค์การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งประเทศออสเตรเลีย (ANSTO) โดยมีผู้เข้าร่วมงานเป็นบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าของไทยและเทศเข้าร่วมกว่า 350 คน

ดร.พรเทพ นิศามณีพงศ์ ผู้อำนวยการ สทน. ได้กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า การประชุมนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในครั้งนี้ จะนำไปสู่การเพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านนิวเคลียร์และต่อยอดการพัฒนาวิจัย อีกทั้งยังก่อให้เกิดการประสานงานระหว่างบุคลากร และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ อันจะทำให้มีการนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์ไปใช้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะกับเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาและยกระดับสิ่งแวดล้อมทั้งของไทยและโลกให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ด้วยคณะทำงานตระหนักถึงความสำคัญและผลกระทบร้ายแรงของปัญหาที่กำลังเกิด โดยมีงานวิจัยทั้งของไทยและนานาชาติหลากหลายชิ้นที่

จะช่วยลดการสร้างมลพิษหรือปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและเอื้อต่อการใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพของประชากรโลก เช่น งานวิจัยเรื่องการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในศตวรรษที่ 21 ด้วยเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ของศาสตราจารย์ด็อกเตอร์เฮนดริค เฮจนิส (Prof.Dr.Hendrik Heijnis) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม องค์การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งประเทศออสเตรเลีย (ANSTO), งานวิจัยของ ผศ.ดร.ณรงชัย อัศวพรพรหม อาจารย์ประจำหน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ได้รับรางวัลนักนิวเคลียร์ดีเด่น ที่ทำการศึกษาวิจัยการเปรียบเทียบผลของการฉายรังสีคาร์บอนที่มีพลังงานสูงแบบครั้งเดียวและแบบหลาย ๆ ครั้ง

แต่เท่ากันในเซลล์มะเร็งที่ส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติที่อยู่ข้างเคียงและรุ่นลูกรุ่นหลานของเซลล์ปกติที่อยู่ข้างเคียง โดยผลสรุปงานวิจัยพบว่าการฉายรังสีคาร์บอนแบบหลาย ๆ ครั้งแต่เท่ากันสามารถลดผลที่เกิดจากรังสีคาร์บอนในระยะยาวที่พบในรุ่นลูกรุ่นหลานของเซลล์ปกติที่อยู่ข้างเคียงเมื่อเปรียบเทียบกับผลที่เกิดในระยะสั้นที่พบในเซลล์ปกติที่อยู่ข้างเคียง และงานวิจัยของเจ้าของ

รางวัลนักนิวเคลียร์รุ่นใหม่ดีเด่น ดร.กัมปนาท ซิลวา นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ชำนาญการ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ที่ทำวิจัยด้านความปลอดภัยของเครื่องปฏิกรณ์ ทั้งในรูปแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย โดยศึกษาตั้งแต่การจำลองอุบัติเหตุที่มีโอกาสเกิดขึ้น การประเมินผลกระทบจากอุบัติเหตุสมมติ ไปจนถึงการวางแผนป้องกันและบรรเทาผลกระทบ ซึ่งปัจจุบันกำลังศึกษาผลกระทบของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ประเทศจีนต่อกลุ่มประเทศอาเซียนในหลากหลายด้าน

การประชุมนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ครั้งที่ 3 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-6 กุมภาพันธ์ 2562 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมงานโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/inst.th