สังคมธุรกิจ » “ซีแอลพี” ผนึก Taiwa ประเทศญี่ปุ่น เปิดตัวนวัตกรรมเครื่องสีข้าว 3 รุ่นใหม่ ตอบโจทย์เกษตรกรไทยยุค 4.0

“ซีแอลพี” ผนึก Taiwa ประเทศญี่ปุ่น เปิดตัวนวัตกรรมเครื่องสีข้าว 3 รุ่นใหม่ ตอบโจทย์เกษตรกรไทยยุค 4.0

19 ตุลาคม 2018
1077   0

กลุ่มบริษัท CLP ในนามบริษัท ซี แอล พี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ผู้ผลิตเครื่องสีข้าว และเครื่องจักรกลการเกษตรมาตรฐานสากล จับมือกับ ไทวะ เซกิ คอร์ปอเรชั่น (Taiwa) ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตรมาตรฐาน จากประเทศญี่ปุ่น เปิดตัวเครื่องสีข้าวใหม่ 3 รุ่น ที่โดดเด่นด้วยระบบการสีข้าวคุณภาพแบรนด์เดียวในไทย ทั้งรุ่นเล็ก สำหรับเกษตรกรในครัวเรือน, รุ่นใหญ่ สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือในอุตสาหกรรมการผลิตข้าวสารขนาดเล็ก-กลาง โดยมีระบบการทำงานครบจบทุกขั้นตอน ทั้งทำความสะอาดข้าวเปลือก กะเทาะข้าวเปลือก ขัดขาว และคัดแยกขนาดข้าวสาร ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรยุค 4.0 ที่ขับเคลื่อน โดยSmart Farmer กว่า 1 ล้านราย (สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)) หรือกลุ่มเกษตรกรกว่า 10,000 กลุ่ม ทั่วประเทศ ที่ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการพลิกวงการเกษตร โดยเปลี่ยนจากเกษตรกรธรรมดาให้กลายเป็นนักธุรกิจ ที่สามารถวางแผนการผลิต แปรรูป และขายสินค้าได้เอง ตั้งเป้าเปิดตลาดปีแรกปี 61 ไว้จำนวน 4,000 เครื่อง พร้อมบุกตลาด AEC และ Africa ในระยะ 5 ปี หวังขึ้นเป็นผู้นำในเรื่องเครื่องสีข้าวอย่างแท้จริง

 

นายมานพ ลี้โกมลชัย ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท CLP เปิดเผยว่า “กลุ่มบริษัท CLP ในนามบริษัท ซี แอล พี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องสีข้าว และเครื่องจักรกลการเกษตรมาตรฐานสากล ที่ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด Engineering a Better Life ที่มีความมุ่งมั่นสร้างสรรค์พัฒนาสินค้าและบริการเพื่อสร้างโอกาสและชีวิตที่ดีกว่าให้แก่เกษตรกร โดยใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม และความรู้ดั้งเดิมพื้นบ้าน ผสมผสานกับการศึกษาถึงความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ทำให้เราสร้างสรรค์สินค้าที่ตอบโจทย์ทุกด้าน ทั้งในแง่นวัตกรรมที่นำสมัย คุณภาพที่เป็นที่ยอมรับและได้มาตรฐาน และการใส่ใจในทุกรายละเอียด เข้าถึงง่ายในมุมลูกค้า นอกจากสินค้าที่ตอบโจทย์กับงานที่หลากหลายแล้ว เรายังมีบริการหลังการขาย การรับประกันและอะไหล่ พร้อมการดูแลลูกค้าตลอดอายุการใช้งาน

ทั้งนี้ ซีแอลพี ได้ร่วมกับ บริษัท ไทวะ เซกิ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (Taiwa Seki Corporation Co.,Ltd.) ผู้นำการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตรมาตรฐานจากประเทศญี่ปุ่น ร่วมกันพัฒนาเครื่องสีข้าวใหม่ 3 รุ่น โดดเด่นด้วยระบบการสีข้าวคุณภาพแบรนด์เดียวในไทย ที่ตอบสนองทุกความต้องการของเกษตรกรยุค 4.0 ทั้ง รุ่นเล็กสำหรับในครัวเรือน เครื่องสีข้าวซีแอลพี รุ่น CR-150 ECO น้ำหนักตัวเครื่อง 45 กิโลกรัม และเครื่องสีข้าวซีแอลพี รุ่น CR-150 ECO Dual Function น้ำหนักตัวเครื่อง 65 กิโลกรัม ที่สามารถทำการขัดสีข้าวเปลือกได้มากถึง 150 กิโลกรัมต่อ 1 ชั่วโมง ด้วยขนาด 3 แรงม้า ความเร็วรอบ 2,800 รอบต่อนาที โดยมีโครงสร้างของเครื่องสีข้าวทำจากเหล็กชั้นดี แข็งแรง ทนทาน เป็นระบบกะเทาะและขัดขาวแบบแกนเหล็ก (เกลียว) ไม่มีลูกยางและลูกหิน

เครื่องสีข้าวทั้งสองรุ่นนี้ มีระบบห้องแยกรำหยาบแบบลมดูด พร้อมมีระบบปรับความขาวข้าวเป็นสปริงปรับแรงดัน 8 ระดับ และมีช่องใส่ข้าวเปลือก สามารถบรรจุข้าวเปลือกได้ 15 กิโลกรัม และสามารถแยกข้าวปลายออกจากข้าวที่สีแล้วได้ โดยตัวเครื่องเป็นระบบส่งกำลังด้วยสายพานอย่างดี ซึ่งสินค้ามีการรับประกันตัวเครื่องนาน 5 ปี โดยเครื่องสีข้าวซีแอลพี รุ่น CR-150 ECO ขายในราคา 14,900 บาท และเครื่องสีข้าว ซีแอลพี รุ่น CR-150 ECO Dual Function ขายในราคา 19,500 บาท โดยรุ่นนี้มาพร้อมเครื่องบดในตัวเดียวกัน ที่สามารถปรับความละเอียดการบดโดยการเปลี่ยนเบอร์ตะแกรงอีกด้วย

 

สำหรับเครื่องสีข้าวรุ่นใหญ่ เครื่องสีข้าว ซีแอลพี รุ่น CMF-201 ที่เหมาะสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือในอุตสาหกรรมการผลิตข้าวสาร มีระบบการทำงานครบจบทุกขั้นตอน ทั้งทำความสะอาดข้าวเปลือก กะเทาะข้าวเปลือก ขัดสี และคัดแยกขนาดข้าวสาร สามารถทำการขัดสีข้าวได้มากถึง 200 กิโลกรัมข้าวเปลือกต่อ 1 ชั่วโมง และสามารถผลิตได้ทั้งข้าวกล้องและข้าวขาว สามารถปรับระดับความขาวได้ โดยการสีเพียงรอบเดียว ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรได้เป็นอย่างดี มีราคาขายอยู่ที่ 340,000 บาท

นายมานพ ลี้โกมลชัย กล่าวต่ออีกว่า ในตลาดอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในภาคเกษตรเทคโนโลยี ได้เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นมาก ไม่ว่าจะในขั้นตอนการผลิต แปรรูป หรือการต่อยอดการขาย และด้วยนโยบายส่งเสริมการเกษตร 4.0 ที่จริงจังมากขึ้น ทั้งจากทางหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทำให้เกษตรกรเองมีความตื่นตัวมากขึ้น ที่จะปรับตัวตอบรับกับนโยบายและตลาดที่เปลี่ยนไป โดยได้นำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ทั้งในแง่ของการผลิตและแปรรูป เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพที่ดีขึ้นด้วยต้นทุนที่ถูกลง และรวมถึงช่องทางการสื่อสาร เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าในวงกว้าง

จากปรากฏการณ์นี้ เราจะเห็นกลุ่มเกษตรกร 4.0 ทั่วประเทศ โดยกลุ่ม Smart Farmer จะมีบทบาทสำคัญในการพลิกวงการเกษตร โดยที่เปลี่ยนบทบาทจากเกษตรกรธรรมดา ให้กลายเป็นนักธุรกิจ ที่สามารถวางแผนการผลิต แปรรูป และขายสินค้าได้เอง ในส่วนของทิศทางตลาดอุตสาหกรรมเกษตรกรรมไทย ในปีนี้ ในแง่ของการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจเช่น ข้าว มีการเติบโตที่ดีขึ้นจากปีก่อนหน้า เนื่องจากปัจจัยของสภาพอากาศและปริมาณนี้เอื้ออำนวยทำให้ได้ผลผลิตมากกว่าปีที่ผ่านมา แต่ในแง่ของราคานั้น เนื่องจากมีผลผลิตมากในบางสินค้า อาจจะส่งผลกระทบบ้าง แต่โดยรวมแล้วยังถือว่า ตลาดการผลิตนั้นมีแนวโน้มเติบโตขึ้นมากกว่าปีที่แล้ว และในส่วนของตลาดส่งออกนั้น ยังมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะข้าว ที่มีความต้องการสูงขึ้นจากต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์

นายมานพ ลี้โกมลชัย กล่าวอีกว่า ปัจจุบันผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้า โดยศึกษาจากช่องทางที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นช่องทางออนไลน์หรือศึกษาจากศูนย์เรียนรู้ ร้านค้า และตามงานแสดงสินค้าที่มีอย่างต่อเนื่อง โดยการตอบสนองความต้องการในแง่ของข้อมูลที่ใช้ในการประกอบการตัดสินใจก็มีเพิ่มมากขึ้น และยังมีการเพิ่มช่องทางการหาข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น ก็ส่งผลกระทบให้ผู้ผลิตต่างต้องปรับตัวและรุกทำการตลาดอย่างจริงจัง ในส่วนของ CLP เรามีช่องทางการสื่อสารให้เข้าถึงข้อมูลให้ได้ง่ายที่สุดใน

หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นทาง เว็บไซต์ เฟซบุ๊ค Line@ หรือคอลเซ็นเตอร์ และได้จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการในรูปแบบการสาธิตสินค้าที่เข้าใจง่ายที่สุดด้วยสื่อวีดีโอ และยังมีการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ เรายังเสริมความประทับใจให้กับลูกค้าของเราโดยมี บริการ On-site Service ที่จะช่วยให้ลูกค้าอุ่นใจตลอดอายุการใช้งาน ทั้งนี้เพื่อให้เราเป็นที่ 1 ในใจลูกค้าในยุคที่ข้อมูลข่าวสารและความจริงใจเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เราจึงมุ่งเน้นการ สร้างการรับรู้ เข้าถึงข้อมูลให้ง่ายที่สุด และการสร้างสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นเป็นเรื่องที่สำคัญ

“จากการขยายของกลุ่มเกษตรกร Smart Farmer และนโยบายส่งเสริมการเกษตรที่พึ่งพาตัวเอง ทำให้แนวโน้มของการขยายเครื่องสีข้าวในประเทศไทยดีขึ้น โดยคาดว่า ในระยะ 2-5 ปีนี้ ตลาดจะโตขึ้นโดยประมาณ 2-3 เท่า และนอกเหนือจากประเทศไทยแล้ว เรายังเตรียมบุกตลาดในกลุ่ม AEC และ Africa เพื่อเพิ่มโอกาสการขยายอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยกลุ่มลูกค้าหลักเรามุ่งเน้นไปที่กลุ่มเกษตรกรขนาดเล็ก ที่สีข้าวบริโภคเองเป็นหลักสัดส่วน 50% รองลงมาจะเป็นกลุ่มเกษตรกรขนาดเล็ก-กลาง ที่สีข้าวเพื่อบริโภคเองและขายในปริมาณไม่มาก สัดส่วน 30% และสุดท้ายคือกลุ่มเกษตรกรที่มุ่งเน้นการสร้างรายได้และธุรกิจจากข้าว แบ่งสัดส่วนเป็น 20% โดยเราเปิดตลาดเครื่องสีข้าวในปี 2561 นี้ประมาณ 4,000 เครื่อง หรือมูลค่าประมาณ 120 ล้านบาท” นายมานพ ลี้โกมลชัย กล่าวปิดท้าย